67% ของเด็กไทย 6.4 ล้านคนได้รับผลไม้ไม่เพียงพอ
10.4% ความสูงต่ำกว่าเกณฑ์
ในขณะที่ในด้านหนึ่งเรามีมังคุดและหรือผลไม้ที่เกษตรกรปล่อยให้เน่าเสียและ/หรือขายได้ในราคาต่ำ นับร้อยล้านกิโลกรัม
นี่คือรายละเอียดของข้อเสนอสำหรับรัฐบาลที่ Win-Win สำหรับทุกๆคน
รัฐบาลควรนำมังคุดและผลไม้ส่วนเกินมาใช้ในโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน โดยจัดสรรให้เด็กในระดับปฐมวัยและประถมศึกษาได้รับผลไม้ 500 กรัม (ถ้าเป็นมังคุดประมาณ 5-7 ผล) เป็นระยะเวลา 31 วัน (โดยในปีแรกอาจเริ่มจากพื้นที่นำร่องในจังหวัดที่อยู่ใกล้แหล่งผลไม้ก่อน)

ปีนี้คาดว่าเรามีมังคุดส่วนเกินทั้งหมด 100,000 ตัน หรือ 100 ล้านกิโลกรัม รัฐบาลสามารถบริหารจัดการ รับซื้อจากเกษตรกรในราคา
25 บาท/กิโลกรัม งบรวมที่ต้องใช้ 2,500 ล้านบาท รัฐบาลอุดหนุน 50% = 1,250 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งใช้งบอาหารกลางวันเดิมของโรงเรียน ซึ่งใช้จัดหาอาหารอยู่แล้ว คิดเป็นเงินประมาณ 6.25 บาท/คน/วัน (จากงบอาหารโรงเรียนต่อหัวเฉลี่ย 24 บาท ซึ่งมีอยู่เดิม)
เด็กทุกคนจะได้รับผลไม้เพียงพอตามมาตรฐานของ WHO
การนำมังคุด 100,000 ตันออกจากตลาด เท่ากับลดอุปทานมังคุดทั่วประเทศลงประมาณ 25% ของผลผลิตซึ่งกำลังล้นเกิน หากราคาตลาดขยับจาก 18-20 บาท เป็น 25 บาท/กิโลกรัม เกษตรกรที่ขายในตลาดทั่วไปอีก 300,000 ตัน จะมีรายได้เพิ่มขึ้น 1,500 ล้านบาท รวมประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่เกษตรกรทั้งประเทศไม่ต่ำกว่า 4,000 ล้านบาท ( 2,500+1,500ล้านบาท) เทียบกับเงินลงทุนแค่ประมาณ 1,000 ล้านบาท
ไม่นับผลประโยชน์ที่เด็กๆของเราจะได้รับ จากการมีร่างกายและสติปัญญาที่ดี เพราะมีงานวิจัยมากมายทั่วโลกที่ระบุว่า การลงทุนอาหารกลางวันเพียง 1 เหรียญเราจะได้รับผลตอบแทนคืนมา 3-10 เหรียญหรือมากกว่านั้น