ร่วมกันสืบสวนสอบสวนหาสาเหตุและผู้กระทำความผิดแบบดิ้นไม่หลุด โดยรวมพลังกันของ ภาคประชาสังคม นักวิชาการ สื่อ และประชาชน เผยแพร่ข้อมูลให้สังคมได้รับรู้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

  1. ผนึกกำลังของนักกฎหมาย นักกฎหมายสิ่งแวดล้อม ร่วมกันฟ้องร้องเอาผิดตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมและอื่นๆให้บริษัทที่ก่ออาชญากรรมสิ่งแวดล้อมมาลงโทษ และต้องรับผิดชอบ เยียวยา ฟื้นฟูความเสียหาย ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชน และประชาชนทั่วไปด้วย
  2. รื้อกลไก มาตรการ ระบบ ความปลอดภัยทางชีวภาพ รวมทั้งปิดช่องโหว่ทางกฎหมาย การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมไม่ให้เละเทะไร้ประสิทธิภาพ ดังตัวอย่าง กลไกความปลอดภัยทางชีวภาพ กรณีปลาหมอคางดำ เป็นต้น
  3. หาวิธีฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม โดยต้องกดดันให้รัฐและบริษัทที่ก่อความเสียหายเป็นผู้ดำเนินการ ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นภาระของประชาชน โดยประชาชนต้องคอยตรวจสอบวิธีการฟื้นฟูเยียวยาและป้องกันการใช้งบประมาณอย่างไร้ประสิทธิภาพด้วย
    5.ร่วมกันผลักดันให้มีการควบคุมบรรษัท เช่น ผ่านการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้า ป้องกันไม่ให้บริษัทเหล่านี้เติบโต ผูกขาด จนก่ออิทธิพลต่อการบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานรัฐ แทรกแซงทางการเมือง และสถาบันทางสังคม เหมือนที่เรากำลังเผชิญหน้ากับบริษัทยักษ์ใหญ่กรณีปลาหมอคางดำ
  4. ร่วมกันรณรงค์บอยคอต คว่ำบาตร ผู้ก่ออาชญากรรมสิ่งแวดล้อมดังกล่าว หลีกเลี่ยง/ไม่ซื้อสินค้าในเครือ ไม่คบค้าสมาคม หลีกเลี่ยงการเข้าร่วมกิจกรรม โดยทำทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศไปพร้อมกัน
    7.ไม่สนับสนุนพรรคการเมือง ไม่เลือกนักการเมืองที่ไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับการก่ออาชญากรรมด้านสิ่งแวดล้อม หรือสนับสนุนผู้ก่ออาชญากรรมทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
  5. ถ้าทำอะไรไม่ได้เลย นึกอะไรไม่ออกก็แชร์โพสต์นี้ สะสมความรู้ สั่งสมกำลัง อีกไม่นานสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงจะมาถึง

อย่าให้พวกเขาทำลายจิตวิญญาณของเรา เพราะพลังอำนาจนั้นสถิตอยู่ในตัวเรา

ที่มา