การศึกษาโดย Peter Elstner, Warm Heart Foundation โดยใช้แผนที่ดินแบบดิจิทัลโดยองค์การ FAO เมื่อปี 2007 และแผนที่ดินแบบดิจิทัลใช้ฐานอ้างอิงของโลก (World Reference Base) ของ FAO ปี 2014 เพื่อแบ่งกลุ่มดิน พบว่าดินส่วนใหญ่ในภาคพื้นทวีปเอเชียอาคเนย์เป็นกลุ่มดิน Acrisols มากที่สุด

โดยในพื้นที่ 970,247 ตร.กม. หรือคิดเป็น 50.4% ของพื้นที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นดินที่จัดอยู่ในกลุ่มดิน Acrisols

กลุ่มดิน Gleysols ครอบคลุมพื้นที่ 190,261 ตร.กม, หรือ 9.9% ของพื้นที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบมากในพื้นที่ที่มีการเอ่อท่วม เช่น บริเวณพื้นที่ทะเลสาบของกัมพูชา พื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้า และตามแนวชายฝั่งทะเลของเวียดนาม

กลุ่มดิน Cambisols ครอบคลุมพื้นที่ 185,086 ตร.กม หรือ 9.6% และพบได้มากทางตะวันตกของเมียนมาร์ ส่วนพื้นที่อื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดินกลุ่มนี้จะพบกระจายตัวเป็นวงกว้าง โดยเป็นดินที่พบร่วมกับดินชนิดอื่น ในสัดส่วน 10-20%

มีพื้นที่ไม่มากนักที่พบกลุ่มดิน Lithosols ในพื้นที่ 138,208 ตร.กม หรือ 7.2% ของพื้นที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตาม ดินกลุ่มนี้เป็นดินที่พบร่วมกับกลุ่มดินหลายๆชนิด โดยมีสัดส่วน 10%

กลุ่มดิน Luvisols ครอบคลุมพื้นที่ 101,772 ตร.กม. หรือ 5.3% ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยส่วนใหญ่พบในพื้นที่ราบและที่ราบสูงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทยและกัมพูชา

กลุ่มดิน Fluvisols ครอบคลุมพื้นที่ 90,447 ตร.กม. หรือ 4.7% ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพบได้ตามลาน้ำขนาดใหญ่และในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้า (แม่น้าอิรวดีและแม่น้าโขง) โดยส่วนใหญ่พบร่วมกันกับกลุ่มดิน Gleysols

กลุ่มดิน Nitisols ครอบคลุมพื้นที่ 87,321 ตร.กม. หรือ 4.5% ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนใหญ่พบในพื้นที่ภูเขาของประเทศเมียนมาร์ ลาว และไทย และมักจะพบในพื้นที่เดียวกันกับกลุ่ม Acrisols

โครงสร้างของดินเหล่านี้มีลักษณะพื้นที่ฐานที่เป็นเครื่องกำหนดความอุดมสมบูรณ์และความเหมาะสมในทางการเกษตร เช่น ดิน Acrisols จะมีอินทรีย์วัตถุประมาณ 1.3% ค่า pH 5 และการอุ้มน้ำค่อนข้างต่ำ การใช้เพื่อทำการเกษตรจึงจำเป็นต้องปรับปรุงบำรุงดินโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน เป็นต้น

สำหรับดินที่มีคุณสมบัติทางเคมีและทางชีวภาพที่ดี ได้แก่ Gleysols, Cambisols, Luvisols และ Fluvisols ซึ่งถือว่าเป็นดินที่ถือว่ามีความอุดมสมบูรณ์ แต่กลุ่มดินบางกลุ่มไม่สามารถนำไปใช้ในทางเกษตรเพราะข้อจำกัดบางประการ เช่น Gleysols และ Fluvisols ที่มีการระบายน้ำไม่ค่อยดีนัก

อย่างไรก็ตามโครงสร้างและคุณภาพของดินตามแผนที่นี้ เป็นเพียงภาพรวมเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นลักษณะใหญ่ๆเท่านั้น ในทางปฏิบัติในแต่ละพื้นที่ยังมีลักษณะของชุดดินย่อยๆ ซึ่งจะสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาเพื่อนำไปใช้สำหรับการเกษตรได้มากกว่า ตามที่นิเวศเกษตรได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้