การนำเข้าหมูเถื่อน สร้างผลกระทบต่อเกษตรกรรายย่อยมากที่สุด เนื่องจากต้องพึ่งพาวัตถุดิบอาหารสัตว์ ทั้งยังต้องพึ่งพาตลาดจากผู้ประกอบการรายใหญ่ ทั้งนี้รวมทั้งเกษตรกรที่อยู่ในระบบเกษตรพันธสัญญา
ดูจากโครงสร้างการเลี้ยงหมูของประเทศไทย จะเห็นว่าเกษตรกรรายย่อยซึ่งมีจำนวนหมูขุนประมาณ 21% ของตลาด (เลี้ยงหมูไม่เกิน 100 ตัว) แต่ครอบคลุมจำนวนเกษตรกรกว่า 170,000 ราย และรวมถึงเกษตรกรรายเล็ก เลี้ยงหมู 101-1,000 ตัว (ประมาณ 5,500 ราย) ซึ่งมีส่วนแบ่งหมูขุน 17% ของตลาด จะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด
ในขณะที่ผู้เลี้ยงรายกลางซึ่งจำนวนหนึ่งมีการจัดการวัตถุดิบอาหารสัตว์เอง มีสายป่านยาวกว่า ได้รับผลกระทบน้อยกว่า
แผนภาพนี้ทำขึ้นจากข้อมูลของกรมปศุสัตว์ก่อนการระบาด ASF ปัจจุบันสัดส่วนของฟาร์มรายย่อยอาจน้อยกว่านี้มาก
วิกฤตหมูเถื่อนจะทำให้ฟาร์มขนาดย่อยและเล็กจะหายไปยิ่งกว่านี้
ข้อมูลจากข่าวเรื่อง การนำเข้าหมูเถื่อนที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหาร
- ขยายผลคดีหมูเถื่อน เจออีก 9 บริษัท เร่งสอบย้อนหลัง 4 ปี อาจนำเข้าถึง 1 หมื่นตู้
- ผู้เลี้ยงหมูขออย่าให้คดีหมูเถื่อนสะดุด หลังอธิบดีดีเอสไอถูกย้าย
- CPAXT ร่วง 3.57% รับข่าวอาจเชื่อมโยงหมูเถื่อน โบรกชี้รอความชัดเจน
- แฉปมเด้ง ‘สุริยา’ พ้นอธิบดี DSI ลือสะพัด ‘รองแพ’ ขึ้นเสียบแทน
- ดีเอสไอตรวจเอกสารแม็คโคร พิสูจน์ข้อเท็จจริงหมูเถื่อน ผู้บริหารแจงยกเลิกสัญญาแล้ว
- คืบหน้าคดี ‘หมูเถื่อน’ อธิบดี DSI เผย มีเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้องทุกขั้นตอนไม่ต่ำกว่า 10 คน
- ดีเอสไอลุยล้าง‘หมูเถื่อน’ ค้นแหล่งซื้อสุกรอันดับ 1 ของประเทศ จ่ออีก 10 หมายจับ